Developer:
ฐิติกร ตัณฑวุฑโฒ

Type:
Graduated

Abstract:
ในปีพ.ศ.2558 ประเทศไทยมีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นและเข้ามาทำงานใช้ชีวิตในกรุงเทพฯมากขึ้นกว่าแต่ก่อน การคมนาคมขนส่งได้มีการพัฒนาตามไปด้วย ซึ่งหนึ่งในนั้นคือรถไฟฟ้า BTS เพื่อรองรับกับการเดินทางของประชาชน สร้างความสะดวกสบายในการเดินทาง แบ่งเบาภาระรถยนต์บนท้องถนนและเป็นทางเลือกในการเดินทางที่รวดเร็ว ทำให้มีประชาชนหันมาใช้ในการเดินทางที่มากขึ้นเพราะความสะดวกรวดเร็ว โดยที่ผู้ดูแลรถฟ้าสามารถควบคุมดูแลได้จากสำนักงานใหญ่หรือศูนย์ควบคุมซึ่งการควบคุมสามารถทำได้โดยใช้สัญญาณวิทยุติดต่อผ่านอุปกรณ์บนรถไฟฟ้า

ระหว่างการเคลื่อนที่ของรถไฟฟ้าไปตามสถานีต่างๆ ผู้ใช้บริการสามารถใช้งาน Internet รวมถึงการ Download, Upload ใช้งานข้อมูลแบบ Real time เช่น การใช้งาน YouTube, Video call เป็นต้น ผ่านการเชื่อมต่อกับเสาสัญญาณในรูปแบบของ EDGE, 3G, 4G, LTE เป็นต้น ซึ่งทำการเชื่อมต่อผ่านอุปกรณ์ เช่น โทรศัพท์มือถือ Smartphone IPAD Tablet เป็นต้น โดยทำการเชื่อมต่อกับเสาสัญญาณโดยตรงที่ถูกติดตั้งไว้ตามเส้นทางของรถไฟฟ้าและเมื่อรถไฟฟ้าเคลื่อนที่ไปตามเส้นทางจะมีกระบวนการ Handover หรือการสลับเปลี่ยนเสาสัญญาณเกิดขึ้นเพื่อให้ได้ใช้งานได้อย่างต่อเนื่อง ในส่วนของงานวิจัยนี้ผู้วิจัยสนใจรูปแบบการทำงานของ Mobile Router ที่มีการเชื่อมต่อแบบทับซ้อนหรือ (Nested) ที่เชื่อมต่อแบบเป็นลำดับขั้นซ้อนทับกันเพื่อเพื่อให้บริการกับผู้ใช้อุปกรณ์สื่อสารเชื่อมต่อกับ internet และใช้งานข้อมูลต่างๆได้บนรถไฟฟ้า BTS ขณะทำการเคลื่อนที่ไป และมีการสลับรูปแบบการเชื่อมต่อของการ Handover แบบข้ามเทคโนโลยีจากการเชื่อมต่อจากเสาสัญญาณภายนอกกับสัญญาณ WIFI ของ Mobile Router ที่สถานี เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการใช้งานและสร้างแบบจำลองวัดประสิทธิภาพและปรับปรุงให้สามารถใช้งาน internet และข้อมูลแบบ Real time (Streaming) ได้ดียิ่งขึ้น

Progress:
5%