Developer:
พิชิต เชียรจรัสวงศ์
Type:
Undergradated
Abstract:

ในการใช้งานระบบ Network ในปัจจุบัน มีการแตกแยกย่อยในรายละเอียดของการเชื่อมต่อทั้งแบบมี
สายและไร้สายซึ่งในการเชื่อมต่อในแต่ละแบบนั้นก็มีรายละเอียดข้อดีข้อเสียที่แตกต่างกันกันไป โดยเฉพาะในส่วนของการเชื่อมต่อแบบไร้สายปัจจุบันได้รับการตอบรับอย่างดีในแวดวงธุรกิจ และ มีบทบาทมากขึ้นตามลำดับสภาวะ ในการตอบสนองชีวิตที่สะดวกสบาย แต่อุปกรณ์ไร้สายทั่วไปมักมีข้อจำกัดในตัวมันเองซึ่งเป็นข้อเปรียบเทียบในการ
พิจรณาเลือกใช้เช่น ราคา ระยะในการติดต่อสื่อสาร ซึ่งล้วนแล้วส่งผลในการพิจรณาในการลงทุนติดตั้งระบบไร้สาย เพื่อเพิ่มข้อดีและทางเลือกในการเลือกใช้ระบบสื่อสารไร้สาย ระบบดังกล่าวจึงควรมีข้อได้เปรียบระบบมีสายมากขึ้น ตามลำดับเพื่อใช้ในการพิจรณาเป็นมูลเหตุหลักในการเลือกใช้ จากสาเหตุดังกล่าวจึงเป็นปัจจัยหลักในการพัฒนา ระบบไร้สายเพื่อให้มีสายขีดความสามารถในการตอบสนองความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามลำดับ

โครงงาน “Ad-Hoc Routing Protocol” นี้มีการทำงานในลักษณะของการค้นหาเส้นทางในการติดต่อ
สื่อสารระหว่าง Node ในระบบ Wireless Lan โดยทำการเพิ่มระยะทางในการติดต่อ และ เพิ่มจำนวนเครื่องลูกข่าย
ในการติดต่อสื่อสารเพิ่มขึ้น ด้วยสมมุติฐานที่ว่าในการใช้งานระบบ Network โดยทั่วไปนั้นความเป็นไปได้ที่จะใช้
Bandwidth อย่างเต็มที่นั้นแทบเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ยากเพราะการใช้งานทั่วไปนั้นมักเป็น Web Service ต่างๆ
ด้วยสมมุติฐานดังกล่าวเราจึงน่าที่จะใช้ Bandwith ที่เหลือในการ Forward Package ไปยังเครื่องที่ปกติไม่
สามารถทำการติดต่อได้ โครงงานนี้จะการ Complied ในลักษณะของ Module แล้วทำการแทรกระหว่าชั้นของ
Layer 2 (Datalink Layer) กับ Layer 3 (Network Layer) ที่เลือกการแทรกแทนที่จะทำการ Modify Protocol
Layer 3 เพื่อตัดปัญหาจุกจิกเกี่ยวกับรายละเอียดของ Protocol ที่อาจเกิดขึ้นในการ Modify Protocol โดย
Module นี้จะทำหน้าที่จัดการทั้งใน การสร้าง Routing Table กระบวนการส่ง และ กระบวนการรับ

• การสร้าง Routing Table ทำในระดับ IP โดยการส่ง Broadcast Routing Table ของตัว Node เอง ทุกๆ 3.5
วินาที (อ้างอิงจาก PRNET)
• กระบวนการส่ง จะดูว่า Destination IP ของ IP Package เปรียบเทียบกับ Destination IP ในตราง จากนั้นทำ
การแก้ Destination IP ของ IP Package ให้เป็น Next Hop IP จากนั้นนำ Destination IP เดิมไปใส่ใน Field
End IP จากนั้นส่งผ่าน Package ลงไปยังชั้น Datalink ตามปกติ
• กระบวนการรับ จะทำการ Check ว่า Destination IP ของ IP Package มีค่าตรงกับ Field End IP หรือเปล่า ใน
กรณีที่ตรงจะทำการถอด Field End IP ออกจากนั้นทำการส่งต่อไปยังชั้น Network ต่อไป ในกรณีที่ไม่ตรงจะเข้าสู่กระบวนการส่งในข้อ 1 ต่อไป

Progress:
100%