Developer:
อรรถพล ฟักน้อย
Type:
Graduated
Abstract:

           ระบบเครือข่ายไร้สายได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง และมีการนำมาประยุกต์ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย การใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายของผู้ใช้ในปัจจุบันมีแนวโน้มที่จะมีการสื่อ สารข้อมูลประเภทเรียลไทม์และมัลติมีเดีย
มากขึ้น แต่เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ ของลักษณะการสื่อสารในระบบแบบไร้สาย เช่น มีแบนวิดท์ที่ต่ำ ความเร็วในการสื่อสารข้อมูลที่ต่ำ และความผิดพลาดของข้อมูลอันเนื่องมาจากการเคลื่อนที่หรือการรบกวนจาก สัญญาณภายนอก ทำให้การสื่อสารในระบบแบบไร้สายนี้ ยังไม่เหมาะสมสำหรับการสื่อสารข้อมูลแบบเรียลไทม์ ด้วยเหตุผลดังที่ได้กล่าวมาแล้วข้างต้น สิ่งที่ต้องให้ความสำคัญสำหรับการสื่อสารในระบบแบบไร้สายอีกประการ
คือ ระบบความปลอดภัยของข้อมูล ในการเข้าและถอดรหัสข้อมูลนั้น เป็นกระบวนการที่ต้องใช้ทรัพยากรของระบบ สูงและทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบลดลง การสื่อสารข้อมูลแบบไร้สายที่ต้องการทั้งความปลอดภัยของ ข้อมูลและการสื่อสารข้อมูลแบบเรียลไทม์ด้วยนั้น จะทำให้ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบลดลงเป็นอย่างมาก เนื่องจากข้อจำกัดต่างๆ ของระบบเครือข่ายไร้สาย ถ้าพิจารณาข้อมูลที่สื่อสารบนระบบเครือข่ายแบบไร้สาย จะเห็นได้ว่าข้อมูลแต่ละประเภทมีความต้องการระบบความปลอดภัยที่ไม่เท่ากัน เพราะผู้ที่ใช้งานระบบเครือข่าย ไร้สายส่วนใหญ่แล้ว มีความต้องการระบบความปลอดภัยสำหรับข้อมูลบางประเภทเท่านั้น ระบบความปลอดภัย ที่เป็นมาตรฐานของระบบเครือข่ายไร้สายในปัจจุบัน ไม่สามารถที่จะเลือกเข้ารหัสเฉพาะข้อมูลบางประเภท เท่าที่ผู้ใช้งานต้องการได้ ทำให้ระบบต้องเข้ารหัสข้อมูลทุกประเภทเพื่อรักษาความปลอดภัยของข้อมูล รวมทั้ง ข้อมูลที่ผู้ใช้ไม่ต้องการระบบความปลอดภัยด้วย การทำงานในลักษณะนี้ มีผลทำให้ประสิทธิภาพการทำงาน โดยรวมของระบบลดลง ถ้าระบบสามารถที่จะเลือกเข้ารหัสเฉพาะข้อมูลประเภทที่ผู้ใช้งานต้องการได้ ก็น่าจะ ทำให้ประสิทธิภาพการทำงานของระบบโดยรวมดีขึ้น

งานวิจัยชิ้นนี้ได้นำเสนอวิธีการที่ใช้ในการแก้ไขปัญหาดังกล่าว โดยออกแบบการทำงานของระบบ เครือข่ายไร้สายในส่วนของชั้นแมค (MAC layer) ใหม่ เพื่อให้รองรับกับความต้องการของผู้ใช้งานระบบ ผู้ใช้งานระบบสามารถที่จะเลือกรูปแบบของการเข้าและถอดรหัสข้อมูล เพื่อนำมาใช้กับข้อมูลแต่ละประเภทได
้ตามต้องการ เมื่อระบบสามารถตรวจสอบประเภทของข้อมูลและกำหนดชนิดของกลไกการเข้าและถอด รหัสข้อมูล ประเภทต่างๆ ตามความต้องการของผู้ใช้งานได้แล้ว ประสิทธิภาพโดยรวมของระบบน่าจะดีมากยิ่งขึ้น

Progress:
100%