Developer:
วรวัชร พันธุ์ชาตรี
Type:
Undergradated
Abstract:

          แนวทางหนึ่งที่มีส่วนช่วยในการอนุรักษ์สัตว์ป่า คือการเฝ้าติดตาม โดยการบันทึกภาพเกี่ยวกับการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า  ซึ่งจะช่วยในเรื่องของการนับสำรวจ และตรวจสอบปริมาณประชากรสัตว์ป่า  เพื่อใช้สำหรับการวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับความหนาแน่นของสัตว์ป่าในพื้นที่  โดยที่ผ่านมาลักษณะของการบันทึกภาพ  มีการเริ่มต้นจากการใช้กล้องฟิล์ม ที่จะทำการบันทึกภาพไว้ตลอดเวลา และต้องให้เจ้าหน้าที่เข้าไปเก็บรูปภาพกลับมาจากจุดที่ตั้งกล้อง  ซึ่งวิธีนี้อุปกรณ์จะใช้พลังงานค่อนข้างสูง และไม่สะดวกต่อเจ้าหน้าที่ที่ดูแล  ต่อมาได้มีการพัฒนาลักษณะของการบันทึกภาพ  โดยเป็นระบบที่จะส่งรูปภาพผ่านทางเครือข่ายไร้สายมายังฐานปฏิบัติการแต่ข้อจำกัดของระบบนี้ยังมีอยู่หลายประการ ทั้งเรื่องของระยะทางในการรับส่งข้อมูลผ่านทางเครือข่ายไร้สาย ที่ยังมีการทดลองแค่ในระยะทางสั้นๆ  แต่ในความจริงแล้วระยะทางจากฐานปฎิบัติการไปยังบริเวณที่ตั้งกล้องจะมีระยะทางห่างกันประมาณ 2-7 กิโลเมตร  เพื่อที่จะไม่เป็นการรบกวนต่อการดำรงชีวิตของสัตว์ป่า  อีกข้อจำกัดหนึ่ง คือเรื่องของระบบการบันทึกภาพ  ซึ่งมีส่วนประกอบหลายอย่าง  อาทิเช่นอุปกรณ์ตรวจจับความเคลื่อนไหว (motion sensor)  ที่ยังไม่สามารถจับความเคลื่อนไหวได้ถูกต้อง  อุปกรณ์กล้องสำหรับบันทึกภาพ  ที่ยังมีข้อจำกัดเกี่ยวกับแสงสว่าง ทำให้ไม่สามารถบันทึกภาพได้ทุกช่วงเวลาตามความเป็นจริง  นอกจากนี้ยังมีส่วนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องของพลังงานที่ใช้กับระบบ ซึ่งจากโครงงานที่ผ่านมายังไม่มีการทดลองถึงระยะเวลาที่ระบบสามารถทำงานได้จริง             จากข้อจำกัดเหล่านี้จึงได้เกิดเป็นโครงงาน “การถ่ายภาพสัตว์ป่าและส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายแลนไร้สายแบบหลายช่วง”  ซึ่งได้เสนอรูปแบบของโครงงานที่จะทำการปรับแก้ข้อจำกัดของโครงงานที่ผ่านมา  โดยมุ่งเน้นพัฒนาระบบทั้งส่วนของการบันทึกภาพ  ที่จะทำการปรับเปลี่ยนกล้องที่ทำการถ่ายภาพ โดยจะคำนึงถึงประสิทธิภาพในการถ่ายภาพให้สามารถถ่ายได้ แม้ในขณะที่แสงสว่างไม่เพียงพอก็ตาม และส่วนของการรับส่งข้อมูลผ่านเครือข่ายไร้สาย โดยใช้เทคโนโลยีตามมาตรฐาน IEEE 802.11g  สำหรับไวร์เลสแอคเซสพอยต์แบบระยะไกล (Long Range Wireless Access Point) กับ IEEE 802.15.4 สำหรับอุปกรณ์ Xbee  ให้สามารถทำงานได้จนสามารถนำไปติดตั้ง และใช้งานได้จริงในสภาพป่าตามธรรมชาติ  รวมทั้งการทดลองเรื่องการใช้พลังงานของระบบ ทำให้ได้ข้อมูลซึ่งก่อให้เกิดประโยชน์สำหรับเจ้าหน้าที่ที่ดูแล  ในการวางแผนระยะเวลาของการใช้งานระบบต่อไป

Progress:
100%