โครงการนี้จัดทำชึ้นเพื่อแก้ปัญหาเกี่ยวกับพอร์ตเชื่อมต่อที่มีอยู่อย่างจำกัดในอุปกรณ์แบบพกพา (Mobile Device) ซึ่งทำให้ผู้ใช้งานนั้นไม่สามารถใช้งานอุปกรณ์พกพาเหล่านั้นให้เกิดประโยชน์สูงสุดได้ และยังต้องการแก้ปัญหาการสูญเสียเงินในการซื้ออุปกรณ์เสริมจากบริษัทผู้ผลิตอุปกรณ์พกพาในราคาที่แพงกว่าปกติ เพื่อจะซื้ออุปกรณ์ต่างๆที่ตนมีอยู่แล้ว แต่ต่างประเภทการเชื่อมต่อ เช่น เดิมผู้ใช้มีคีย์บอร์ดที่มีพอร์ตการเชื่อมต่อแบบยูเบสบี (USB) อยู่ แต่เมื่อผู้ใช้ต้องการจะทำการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์พกพาก็พบว่า อุปกรณ์พกพานั้นไม่รองรับการเชื่อมต่อแบบยูเอสบี ทำให้ผู้ใช้จำเป็นต้องตัดสินใจซื้อคีย์บอร์ดไร้สาย(Wireless) ที่มีการเชื่อมต่อแบบบลูทูธ(Bluetooth) ที่ผู้ผลิตทำการผลิตขึ้นมาขายคู่กับอุปกรณ์พกพาของบริษัทในราคาที่แพงกว่าคีย์บอร์ดเดิมที่มีอยู่ประมาณ 2-3 เท่าตัว จากเหตุการณ์ตัวอย่างข้างต้น ทำให้ผู้จัดทำเกิดความคิดขึ้นมาว่า หากมีอุปกรณ์สักชิ้นหนึ่งที่ทำหน้าที่เปลี่ยนการเชื่อมต่อแบบยูเอสบีให้เป็นการเชื่อมต่อแบบบลูทูธได้ ปัญหาดังกล่าวก็ย่อมถูกแก้ไปโดยปริยาย เมื่อปัญหาเกี่ยวกับพอร์ตการเชื่อมต่อมีอยู่อย่างจำกัดนั้นถูกแก้ไข ย่อมส่งผลให้เกิดแอพพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่ออกมาเพื่อรองรับอุปกรณ์การเชื่อมต่อที่มีอยู่มากขึ้น ยกตัวอย่างเช่น ผู้พัฒนาทำการพัฒนาแอพพลิเคชั่นที่ทำหน้าที่บันทึกเวลาเข้าเรียนของนิสิต จากเดิมมีอุปกรณ์รองรับเพียงแค่คีย์บอร์ดไร้สายที่มีการเชื่อมต่อแบบบลูทูธของบริษัทผู้ผลิต จึงต้องให้นิสิตทำการคีย์ข้อมูลกันเอง แต่เมื่อมีอุปกรณ์ที่ทำหน้ามีเปลี่ยนการเชื่อมต่อแบบยูเอสบีให้เป็นการเชื่อมต่อแบบบลูทูธ ทำให้เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีสามารถการเชื่อมต่อเข้ากับโมบายดีไวซ์ได้ ทำให้ผู้พัฒนาสามารถพัฒนาแอพพลิเคชั่นให้ใช้เครื่องอ่านอาร์เอฟไอดีในการบันทึกเวลาเข้าเรียนแทนการพิมข้อมูลเองของนิสิตซึ่งอาจเกิดปัญหาการลงเวลาให้กันได้ สำหรับแนวทางในการพัฒนาอุปกรณ์ที่ทำการเปลี่ยนการเชื่อมต่อแบบยูเอสบีให้เป็นการเชื่อมต่อแบบบลูทูธนั้น เริ่มจากทำการออกแบบแผงวงจร ซึ่งประกอบไปด้วย ชิพเซ็ต(Chip Set) ต่างๆ ดังนี้ เอฟทีดีไอ (FTDI) : เป็นชิพเซ็ตที่ใช้ในการเปลี่ยนข้อมูลจากการเชื่อมต่อแบบยูเอสบีให้เป็นการเชื่อมต่อแบบอนุกรม(serial) ไมโครคอนโทรลเลอร์ (Microcontroller) : ทำหน้าที่เป็นส่วนควบคุมการทำงานทั้งหมดของอุปกรณ์ดังกล่าว ทั้งควบคุมการรับ-ส่งของข้อมูล เลือกประเภทของอุปกรณ์ที่เชื่อมต่อ รวมไปถึงการสถาปนาการเชื่อมต่อและยกเลิกการเชื่อมต่อด้วย เคซี-22 (KC-22) : เป็นชิพเซ็ตที่ทำหน้าที่เปลี่ยนการเชื่อมต่อแบบอนุกรมให้เป็นการเชื่อมต่อแบบบลูทูธ หลังจากทำการสร้างแผงวงจรที่ประกอบไปด้วยอุปกรณ์ดังกล่าวข้างต้นแล้ว จึงทำการเชื่อมต่อเข้ากับอุปกรณ์ที่มีการเชื่อมต่อแบบยูเอสบีเพื่อดูการทำงานว่าสามารถทำงานได้ตรงตามเงื่อนไขที่ต้องการหรือไม่ เมื่อได้การทำงานที่ตรงตามเงื่อนไขที่ต้องการแล้ว ต่อมาจึงทำการเขียนแอพพลิเคชั่นตัวอย่างเพื่อสาธิตการทำงานของอุปกรณ์ดังกล่าวต่อไป
Developer:
อัฐพงศ์ ชูละออง
Type:
Undergradated
Abstract:
Progress:
100%